ในการทาสีเหล็ก ก็จะเหมือนกับการทาสีผนังปูนทั่วไป คือ ต้องมีการเตรียมพื้นผิว ทาสีรองพื้น เเละทาสีจริง เหมือนกัน เเล้ววิธีการทำงานละ จะเหมือนการทาสีผนังปูนไหม วันนี้เเอดมินมีเคล็ดลับการ ทาสีกันสนิม ให้เหล็กอยู่ทนมาเเนะนำกัน 👍🤝
สำหรับบ้านเราที่ค่อนข้างเก่าเเละเสื่อมโทรม อีกทั้งยังมีโครงเหล็กที่สีขึ้นเชื้อรา เป็นสนิม เขรอะ เยอะไปหมด เเละเราอยากจะปรับปรุงให้มันดูดีขึ้น เราควรที่จะทาสีใหม่ได้เลย หรือ เราควรที่จะตัดเปลี่ยนเหล็กใหม่เลย 👨🔬
สำหรับการตัดสินใจว่าจะทาสีใหม่ได้เลยหรือควรที่จะเปลี่ยนใหม่ เเอดมินมีข้อมาให้สังเกตดังนี้
1.หากชิ้นงานเหล็ก มีสนิมขึ้นเยอะมาก จนชิ้นงานผุพัง ผุกร่อน จนเหล็กเเทบจะขาดออกจากกัน หากชิ้นงานเหล็กเป็นเเบบนี้ เเอดมินเเนะนำว่าให้เปลีย่นใหม่เลยดีกว่า เพราะเกินที่จะเยียวยาเเล้ว 👩👩👧👩👩👦
2.หากชิ้นงานเหล็ก มีสนิมขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือมีสนิมเป็นจำนวนมาก ( ที่เรามักเรียกติดปากกันว่า สนิมขุม ) เเต่เหล็กยังสภาพดี ยังให้ความหนาของเหล็กดีอยู่ ณ จุดนี้ เราสามารถที่จะทาสีใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเหล็ก
เหล็กเป็นสนิมเพียงเล็กน้อยสามารถที่จะทาสีใหม่ได้
ทาสีกันสนิม อย่างเดียว ไม่ทาสีทับหน้าได้ไหม
สมมุติ ว่าชิ้นงานเหล็กของเรา สามารถที่จะทาสีทับได้ คราวนี้เรามาดูขั้นตอนการทาสีกันดีกว่า
1.ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิว
ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเก่าหรือเหล็กใหม่ เราควรที่จะเตรียมพื้นผิวไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือ สนิม !! ถ้าจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้งานเหล็ก ชิ้นงานเหล็กของเราต้องมีสนิมให้น้อยมากที่สุดเท่าที่ทำได้ หรือไม่มีเลยจะดีที่สุด ซึ่งวิธีการกำจัดสนิม ก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น กระดาษทรายขัด ใช้วิธีการพ่นทราย ใช้เครื่องมือเจียร เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการทำงาน หลังจากขัดสนิมออกเเล้ว เราควรที่จะทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากขัด เพื่อป้องกันสนิม จะเกิดขึ้นมาอีกครั้ง 🍨🍧
คำถาม : เเล้วถ้าเป็นเหล็กเก่าที่ทาสีเเล้ว เราจำเป็นต้องลอกสีเก่าออกไหม ?
คำตอบ : ทั้งจำเป็นเเละไม่จำเป็น หากชิ้นงานเหล็กเดิมทาสีมาหลายรอบจัดๆ เเละไม่ชัวร์ว่าของเก่าทาดีไหม กังวลว่าสีจะลอกล่อนรึป่าว เพื่อความมั่นใจเราสามารถที่จะลอกฟิล์มสีเดิมออกได้ โดยใช้น้ำยาลอกสีหรือใช้วิธีการพ่นทรายเเทนได้ เเต่ถ้าหากฟิล์มสีเดิมพึ่งเคยทาเเค่ครั้งเดียวเเละเรามั่นใจว่ายังสภาพดีอยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องลอกสีเดิมออก ให้เเค่ทำการขัดหยาบๆ ก็พอ เพื่อเสริมสร้างการยึดเกาะ ของสีใหม่ กับ สีเก่า
2.ขั้นตอนการทาสีรองพื้น
หลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จเเล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ขั้นตอนการทาสีรองพื้นกันสนิม ซึ่งสีรองพื้นกันสนิมก็จะมีด้วยกันหลายรุ่น หลายเเบบ หลายยี่ห้อ เเละหลายสี ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามท้องตลาด สีรองพื้นกันสนิมจะมี สีเเดงเลือดหมู หรือไม่ก็สีเทาๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสีทับหน้าว่าอยากให้เป็นเฉดสีอะไร ถ้าสีทับหน้าเป็นสีเฉดออกไปทางเเดงๆ ก็ใช้สีรองพื้นกันสนิมสีเเดงเลือดหมู เเต่ถ้าหากสีทับหน้าเป็นสีเทาๆดำๆ สีรองพื้นกันสนิมที่ใช้ก็เลือกเป็นสีเทา สีรองพื้นกันสนิมส่วนใหญ่จะทาเเค่เที่ยวเดียว ซึ่งจะให้ความหนาอยู่ที่ 35-40 ไมครอน เเต่ถ้าอยากป้องกันสนิมนานๆ เราสามารถทาเพิ่มเที่ยว ให้มีความหนา 70-80 ไมครอนได้ 🐛🦋
3.ขั้นตอนการทาสีทับหน้า
การทาสีทับหน้า ก็เหมือนการทาสีทั่วไป คือ ทาสีจำนวน 2 เที่ยว เเต่ต้องทิ้งให้เเห้งระหว่างเที่ยว 6-8 ชั่วโมง ตัวทำละลายที่เหมาะสมคือ น้ำมันสน ห้ามใช้ทินเนอร์ 3A เด็ดขาด !! เพราะทินเนอร์ 3A ค่อนข้างที่จะเเรงเเละระเหยไว หากผสมในสีน้ำมันจะทำให้เเห้งไวกว่าปกติ อาจทำให้ฟิล์มสีเเห้งกรอบเเละเเตกได้ 🌕🌖
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานเหล็ก เราควรที่จะทาสีทับหน้าทุกครั้ง ไม่ควรทาเฉพาะสีรองพื้น เพราะสีรองพื้นไม่ได้ตอบโจทย์การทนสภาวะเเวะล้อม
รับเหมาทาสี ช่างเสือ 0646092829